Home » กิจกรรมสภาวิชาชีพข่าวฯ

บทสรุปเวทีสัมมนา รายงานข่าวอย่างไรไม่ตกเป็นจำเลย?

Author by 12/06/11No Comments »

    

ทำหน้าที่สื่อโดยมีจริยธรรม รอบรู้กฎหมาย  ไม่ละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์                         สื่อควรปรับตัวก่อนสังคมและกระบวนการยุติธรรมเรียกร้องให้มีการลงโทษสื่อ

(12 มิ.ย.54) สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเวทีสัมมนา “รายงานข่าวอย่างไร ไม่ตกเป็นจำเลย” เพื่อนำเสนอความรู้ สาระสำคัญของกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชน เยาวชน เด็กและสตรี รวมทั้งด้านอาญาและแพ่ง โดย นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,นายเจษฏา อนุจารี อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน สภาทนายความ รองประธานคนที่ 2 และ ประธานคณะอนุกรรมการจริยธรรมและรับเรื่องร้องเรียน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย,    นายสมชาย หอมลออ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย,นายประสงค์  เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา

สำหรับประเด็นการสัมมนาในเวที รายงานข่าวอย่างไร ไม่ตกเป็นจำเลย คือ กฎหมายและบทลงโทษกฎหมายและบทลงโทษต่างๆที่จำเป็นต่อการทำงานวิชาชีพข่าวและสื่อมวลชน, รายงานข่าวอย่างไรไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน,จริยธรรมและความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าว,เหตุผลและความจำเป็นในการทำแผนประกอบการคำรับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกรณีจับตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา,ผลกระทบต่อผู้ต้องหาที่ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อในมิติสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม และความเห็นและแนวทางการแก้ไขหรือวิธีการดำเนินการด้วยวิธีอื่นแทนการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน

นายประสงค์ รัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา นำเสนอด้านกฎหมายหมิ่นประมาท ละเมิดจริยธรรมที่สื่อมวลชนควรจะรู้ เพื่อจะไม่ตกเป็นจำเลยในการเสนอข่าว อาทิ ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 126 /127/128/129/330/331/332 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 และที่สำคัญ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 75/76/ โดยเฉพาะ มาตรา130 ห้ามมิให้ผู้ใดบันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงของเด็กหรือเยาวชนซึ่งปรากฏในทางสอบสวนของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือ ในทางพิจารณาคดีของศาลที่อาจทำให้บุคคลอื่นรู้จักตัว ชื่อตัว หรือชื่อสกุล ของเด็กหรือเยาวชนนั้น หรือโฆษณาข้อความเปิดเผยประวัติการกระทำความผิดหรือสถานที่อยู่ สถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของเด็กหรือเยาวชนนั้น และ มาตรา 136/153/192 , พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 27/79 , พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 3 / 9/ , พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 56  เป็นต้น

ถามว่าทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นจำเลย คงยากเพราะการนำเสนอข่าวมันแทบจะมีการละเมิดคนตลอดเวลา เพียงแต่ละเมิดที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล หรือเป็นสิ่งต่างๆ คือคนที่ถูกละเมิดถูกตกเป็นข่าวรู้สึกตลอดเวลาว่าตัวเองตกเป็นผู้ถูกกระทำ ฉะนั้นการจะไม่ตกเป็นจำเลยคงลำบาก เพราะเป็นสิทธิของผู้ที่จะฟ้องหรือแจ้งความดำเนินคดีในศาลคดีหมิ่นประมาท ฟ้องละเมิด ให้เขาเห็นว่าเขาเสียหาย บางคดีไม่เหตุผล ไม่ได้เอ่ยถึงเขาเลย ยังฟ้องได้”

 

            นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมฯ ในมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน ได้รับคำร้องเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่พอสมควร ในเรื่องของการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพในชั้นก็พนักงานสืบสวน ในชั้นของพนักงานจับกุมสอบสวนกับการแถลงข่าวของสื่อมวลชนว่ามีการทำถูกต้องตามจริยธรรมกฎหมายหรือไม่ ในเรื่องนี้จะเห็นว่าสื่อมวลชนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะสะท้อนสังคม ในฐานะบทบาทที่จะนำสิ่งเหล่านั้นเผยแพร่ต่อสาธารณะ ในเรื่องนี้ก็เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ถ้าดูในแง่ผลดี ผลดีก็จะเกิดขึ้นต่อคนในสังคม แต่มันก็มีในแง่ผลเสียคือเรื่องผลกระทบต่อคนที่ตกเป็นข่าว เสมือนแผ่นฟิล์มบางๆ ถ้าดูในกรอบของอาชีพ ในกรอบของกฎหมายกับกรอบจริยธรรม กฎหมายบางทีมันแพ้ จริยธรรมต้องถูกกว่า หัวข้อจำเลยทางกฎหมายกับจำเลยสังคม ทีนี้ในมุมมองของนักสิทธิมนุษยชนมองว่า การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ตรงๆ แต่จะทำอย่างไรถ้าไม่มีประจักษ์พยาน เขาก็จำเป็นต้องไปนำชี้ที่เกิดเหตุเพื่อพิสูจน์ว่าเรื่องเป็นมาอย่างไรในเรื่องเหตุการณ์แวดล้อมประกอบในเรื่องของการชี้นำจุดเกิดเหตุ เห็นว่าทางตำรวจมีคำสั่ง ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พอสมควร แต่ละเลยในสิ่งที่มีคำสั่งมีระเบียบไว้ ในตัวระเบียบที่เกี่ยวข้องกับทางกรณีของตำรวจหรือพนักงานสอบสวน จะมี อะไรอยู่หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นประมวลการตำรวจเกี่ยวกับคดี ในเรื่องของการทำแผนที่เกิดเหตุ ในเรื่องของภาพนี้ให้ผู้มีหน้าที่ หรือการให้สัมภาษณ์แถลงข่าวหรืออะไรลักษณะนี้ มีอยู่พอสอสมควร ในทางปฏิบัติมีการละเลยอยู่ ตลอดเวลา

ในมุมมองทางด้านการแถลงข่าวต่อสื่อสารมวลชน ที่เอาผู้ถูกกล่าวหามาตั้งกล้องอยู่ตรงหน้าทีวี ตรงนี้การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนไม่มีอยู่ในกฎหมายเลย กฎหมายให้พนักงานสอบสวนไปรวบหลักหลักฐานในคดีแล้วไปฟ้องศาล การแถลงข่าวในต่างประเทศมันไม่มีในสิ่งเหล่านี้ หากจะแถลงเป็นเรื่องการแถลงว่าเหตุเกิดที่ไหน จับกุมอะไร มีของกลางยังไง ไม่จำเป็นต้องเอาบุคคลมาตั้งโต๊ะแล้วแถลงว่าจับได้ แม้ไม่มีการสัมภาษณ์ในกรณีนั้นจะรู้ว่าสัมภาษณ์ยาก การแถลงข่าวเป็นการละเมิดชัดเจน ทุกวันนี้ไม่ควรโดยเฉพาะเรื่องของเด็กและเยาวชน แม้แต่คลุมโม่งถ้าเขาจำรูปลักษณ์หรืออัตตลักษณ์ได้ว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ตรงนั้นก็อันตราย เพราะมันเข้าตามตัวบทกฎหมายที่ผิด ในเรื่องนี้ถ้าเป็นแผ่นฟิล์มบางๆในเรื่องของสิทธิส่วนบุคคลกับสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ตรงนี้ต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจน เพราะบางอย่างมันล่วงล้ำกัน เรื่องของสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลมันมีรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา35 บัญญัติไว้ว่า สิทธิของบุคคลในครอบครัว ตลอดจนเกียรติยศ ชื่อเสียงตลอดจนความเป็นอยู่ต้องได้รับการคุ้มครอง ถึงแม้จะมีวรรค2ว่าการข่าวหรือแพร่หลายขึ้นข้อความไม่ว่าโดยวิธีใดไปยังสาธารณะชนอันเป็นการละเมิดอันกระทบต่อบุคคล เกียรติยศชื่อเสียงส่วนบุคคล จะกระทำนี้ได้เว้นแต่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ต้องตั้งคำถามว่าอะไรเป็นประโยชน์สาธารณะและอะไรไม่ใช่ ถ้าไม่ใช่ สิทธิในการรับรู้ข่าวสารก็ไม่จำเป็นในสิ่งเหล่านั้น เพราะไม่ล่วงเกินสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ไม่ใช่สัดส่วนกัน นอกจากนั้นถ้าดูการนำชี้ที่เกิดเหตุและคำประกอบคำรับสารภาพ มันก็ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 39

นายสมชาย หอมลออ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เสนอในมุมของเสรีภาพ ในแง่ของเสรีภาพของสื่อ นี่เป็นประเด็นที่ทำให้เราชั่งน้ำหนักในการนำเสนอข่าวสาร ว่าจริงๆ แล้วควรจะอยู่ตรงไหน ผู้ร่วมเวทีสัมมนาอาจสงสัยว่าลงข่าวอะไรไม่ได้เลยหรือในที่สุดมันก็จะไปละเมิดอะไรต่างๆ เหล่านี้ อยากจะให้มองอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้เกิดดุลยภาพกัน จะได้ทำงานมีหลักการที่จะนำไปใช้กำหนดบทบาท ภารกิจและการปฏิบัติของเราว่าจุดใดคือความพอดี หลักของสิทธิเสรีภาพจากกฎหมายที่ได้พูดไป ไทยเราใช้หลักกฎหมายธรรมชาติ คำนึงถึงความเป็นจริงของมนุษย์ อันนี้ผู้สื่อข่าวในด้านความเป็นจริง ซึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชนฐานะหนึ่งของรัฐ โดยหลักแล้วรัฐต้องส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนของคนทุกคน เมื่อเราก็รู้สึกว่าสื่อก็มีเสรีภาพ รัฐมีหน้าที่ปกป้องเสรีภาพของสื่อ ในขณะเดียวกัน ขณะที่เราจะรายงานข่าวของผู้ต้องหาในคดีต่างๆ ก็ต้องยอมรับว่ารัฐมีหน้าที่ในการปกป้องคนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน ขณะที่ปกป้องสื่อก็ต้องมีหน้าที่ปกป้องคนอื่น ดังนั้นหลักการที่รัฐจะต้องปกป้องเสรีภาพของคนทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ

ถึงแม้ว่าสื่อจะมีเสรีภาพ แต่ก็ต้องมีความรับผิดชอบอย่างที่หลายท่านได้พูดไปแล้ว แต่มี 2 อย่าง คือ ความรับผิดชอบในหน้าที่ ซึ่งถ้าไม่ทำก็ต้องมีโทษ กับความรับผิดชอบทางศีลธรรม ผมได้นำเสนออีกมุมมองหนึ่งที่อยากให้ไปชั่งดูว่าเสรีภาพของพวกเราได้รับการรับรองจากปฏิญญาสากลว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญ บางทีก็มีหลายประเด็นที่หยิบยกกันขึ้นมา เช่น ถ่ายรูปมาแล้ว แต่ไม่ได้ลงเผยแพร่เป็นความผิดไหม น่าสงสัยอยู่ว่าคนที่รับผิดชอบคือบรรณาธิการ คนถ่ายต้องรับผิดชอบหรือเปล่า เพราะรูปที่เรานำเสนอมีเยอะแยะ เป็นร้อยแต่ก็หยิบไป1-2 รูปที่บังเอิญว่ารูปนั้นไปละเมิดกฎหมายคุ้มครองเด็กหรืออื่นๆ หรือจากการตรวจสอบเมื่อ เม.ย.-พ.ค. ปีที่แล้วเหมือนกัน บก.สั่งให้ไปทำข่าว ถามเจ้าพนักงานระดับผู้บังคับการว่าสั่งให้ไปดูแลสถานการณ์ ไม่ได้สั่งให้ไปฆ่าคน ทุกคนพูดอย่างนี้หมด การที่จัดแถลงข่าวหรือจัดแสดง เขาไม่ได้บอกว่าคุณทำผิดกฎหมาย อันนี้ก็ต้องดูรูปธรรมว่าโดยเจตนา โดยรู้ข้อเท็จจริงว่าต้องได้ข่าวมาในลักษณะเช่นนี้อย่างเดียว ก็ดูเป็นกรณีไป แต่เขาก็ตั้งไว้อยู่แล้วว่าไม่ได้ให้คุณไปทำผิดกฎหมาย ในทางกฎหมาย คือ ผู้เป็นตัวการด้วยกัน ผู้สนับสนุน ถ้ามีข้อเท็จจริงว่าเป็นการกระทำความผิด บก.กับนักข่าวเป็นตัวการด้วยกันก็ต้องรับผิดทั้ง2คน หรือบางทีเป็นผู้สนับสนุน ก็เป็นไปได้ถ้าเกิดข้อเท็จจริง โดยหลักพื้นฐานของกฎหมายอาญาก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว

ประเด็นที่ 2 คือ การรายงานข่าวอาชญากรรมในขณะที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ทำไม่ได้เลยหรือ เพราะว่าหลักศีลธรรมอย่างหนึ่งก็คือ ต้องชั่งระหว่างสิทธิส่วนบุคคลหรือประโยชน์ของสังคม เพราะถ้าเราไม่รายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมเลยมันก็อาจเป็นการปกป้องสิทธิให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ ประการที่ 2 คือ การป้องกันการละเลย ปกป้องสิทธิของผู้เสียหายก็ได้ ประการที่ 3 คือ สังคมควรได้รู้ได้เข้าใจมีสิทธิหรือไม่ เพราะว่าการอ่านข่าวอาชญากรรมก่อให้เกิดความระแวดระวังไม่ให้อาชญากรรมอย่างนั้นเกิดขึ้นอีก เช่น การปล้นทอง แก๊งเอทีเอ็ม จริงๆ แล้วก็ไม่ได้หมายความว่ารายงานข่าวไม่ได้เสียเลย เช่น การรายงานข่าวแล้วปิดหน้าผู้ต้องหาหรือจำเลย หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อจริง แต่ข้อสำคัญก็คือว่าทำอย่างไรให้มีการรายงานข่าวอีกด้านหนึ่งด้วย อันนี้ก็เป็นหลักทั่วไปอยู่แล้ว เนื้อข่าวก็ต้องทำให้เห็นว่าคนคนนี้ไม่ได้ผิด ไม่ได้ทำความผิดจนกว่าศาลจะพิพากษาถึงที่สุด แม้แต่การยกเอาหลักการนี้มาก็ไม่มี จะทำยังไงให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีโอกาสพูดด้วย แต่ต้องยอมรับว่าในทางปฏิบัติ จำเลยไม่อยากพูด8434 ผู้ต้องหาไม่อยากพูด ทนายยังไม่อยากพูด เพราะเราใช้ระบบสาวหา แล้วอาจจะเป็นประโยชน์หรือเสียรูปคดี ดังนั้นนักข่าวอาชญากรรมเองก็ต้องใช้วิธีซักจากเจ้าหน้าที่นั่นแหละ เพื่อทำให้เห็นว่าข้อมูลที่อ้างนั้นมีอีกมุมหนึ่งหรือเปล่า นี่จึงจะเป็นการได้ประโยชน์อย่างแท้จริงต่อสังคมด้วย อีกอย่างหนึ่งคือต้องยอมรับว่าสื่อกระแสหลักก็ต้องแข่งกับ โซเชียลมีเดีย เป็นปัญหาใหม่ที่ท้าทายทั้งไทยและทั่วโลก ยังไม่มีคำตอบหรือความคิดเห็นว่า ในขณะที่เราเรียกร้องสื่อกระแสหลักต้องมีความรับผิดชอบแต่ โซเชียลมีเดีย มันเป็นยังไง

นายเจษฎา อนุจารี  อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน สภาทนายความ, รองประธานคนที่ 2 และ ประธานคณะอนุกรรมการจริยธรรมและรับเรื่องร้องเรียน สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า ในอดีตไม่เคย นำกฎหมายคุ้มครองเด็กและกฎหมายความรุนแรงในครอบครัวมาลงโทษสื่อนั้น แต่จากที่ได้ประชุมสี่ฝ่าย โดยมีรองประมุขศาลยุติธรรม อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ และนายกสภาทนายความ มีการพูดคุยกันในเรื่องของ พ.ร.บ. ศาล เยาวชนและครอบครัวฯ ฉบับใหม่ ที่ตอนนี้มีประเด็นปัญหาถกเถียงกันค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะพนักงานอัยการ ศาล พนักงานสอบสวน ที่ตีความกันไปคนละเรื่อง มีปัญหา ว่าจะทำอย่างไรให้อยู่ในแนวทางเดียวกัน ในที่ประชุมมีผู้เสนอว่า สื่อมีปัญหาที่ นำเสนอเรื่องเด็ก เรื่องผู้หญิงถูกข่มขืน มีการข่มขืนซ้ำทางทีวีด้วยการเสนอ ข่าวข่มขืน แล้วไปถูกทนายความซักถามในศาลเหมือนข่มขืนซ้ำในศาลอีกทีหนึ่ง เช่น  ข่าวที่นำเสนอเรื่องพระข่มขืนหญิงผู้หนึ่งจนต้องนอนอยู่ในโรงพยาบาล สื่อไปสัมภาษณ์ เหยื่อซึ่งหันหลังให้กล้อง ทุกแง่มุมว่า ทำอะไร ยังไง ซึ่งกลายเป็นการข่มขืนทางทีวีซ้ำ อีกที ก็กลายเป็นประเด็นปัญหาและเกิดเป็นการตั้งข้อสังเกต ว่า กระบวนการยุติธรรม ไม่เคยเอาสื่อที่นำเสนอเรื่องแบบดังกล่าวมาลงโทษเป็นตัวอย่าง ในที่ประชุมก็เห็นว่าควร จะมีตัวอย่าง คือ เชือดไก่ให้ลิงดู จะได้รู้ว่าวันหลังอย่าไปทำ

“ผมเองอยู่ในที่นั้นและก็ได้บอกว่าสื่อเองก็มีความระมัดระวัง ในบางครั้งอาจจะ จงใจ หรือบางครั้งมีหลุดไปบ้าง บางทีก็ไปสัมภาษณ์เด็กที่กระทำความผิดโดยเห็นแต่ ด้านหลังของเด็ก แต่ตัวเด็กมีสิ่งที่ชี้ให้คนที่เคยรู้จักกับเด็กทราบว่าเป็นใคร และมีการ สัมภาษณ์แม่ของเด็กโดยเปิดหน้าผู้ถูกสัมภาษณ์ แล้วยังไปถ่ายรูปโรงเรียนมาด้วย เพราะฉะนั้นสื่อก็ระมัดระวัง แต่ไม่เต็มที่ ต้องพยายามมาพูดกันเรื่องแบบนี้บ่อย ๆ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ติดตัวอยู่ในใจ เวลาทำงานก็นึกถึงอยู่ตลอดเวลา เรื่อง กระบวนการในการทำแผนประกอบการสารภาพของตำรวจ ก็มีประโยชน์ใน อีกแง่มุมหนึ่งด้วยเหมือนกัน ทนายความเคยนำมาเป็นข้อต่อสู้จนชนะคดี คุณสมชาย บอกว่า ท่านดูแลเรื่องสิทธิเสรีภาพสื่อ ผมดูแลเรื่องความรับผิดชอบของสื่อ เสรีภาพกับ ความรับผิดชอบต้องคู่กัน คนไทยเวลาพูดเรื่องสิทธิจะไม่พูดเรื่องหน้าที่ พูดว่ามีสิทธิ อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่เคยพูดถึงเรื่องการมีหน้าที่ ถ้าพูดเรื่องสิทธิเสรีภาพ จะไม่พูดถึงความรับผิดชอบเลย ใน รัฐธรรมนูญ มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้าง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของ บุคคลอื่น หมายความว่า เราต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของคนอื่นด้วย ต้องไม่กระทำการขัดต่อ รัฐธรรมนูญหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เราไปดู รัฐธรรมนูญ มาตรา 45, 46 รับรอง เสรีภาพของสื่อไว้เต็มที่ รัฐไม่มีสิทธิปิด เจ้านายไม่มีสิทธิสั่งห้ามลูกน้อง รัฐธรรมนูญ เขียนเสรีภาพของใครไว้ว่าอย่างไร สื่อก็ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นตามเสรีภาพ ที่บัญญัติไว้ ต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลอันเนื่องมาจาก เชื้อชาติ ถิ่นกำเนิด ภาษา เพศ ฯลฯ ต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่นทั้งหมด ฉะนั้นกระบวนการของสื่อก็ต้องมีในสิ่งเหล่านี้ด้วย รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า การไขข่าวฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อเกียติยศ ชื่อเสียง หรือ ครอบครัว นั้น จะกระทำมิได้”

รัฐธรรมนูญ มาตรา82 รัฐจะต้องส่งเสริมความสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับ นานาประเทศ ยึดถือหลักปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจนต้องปฏิบัติตามหลัก สิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี ซึ่งมีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก การต่อต้าน ความรุนแรงต่อครอบครัว เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องเคารพ และถ้าไปดู พ.ร.บ. การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ที่บัญญัติเกี่ยวการดำเนินการของสื่อ นั่นคือ การพยายามให้สื่อรวมตัวกัน แล้วใช้จรรยาบรรณมาดำเนินการ ในการ ควบคุมสื่อด้วยกัน รัฐธรรมนูญ ต้องการให้สื่อรวมตัวกัน และให้เกิด มาตรฐานจริยธรรมขึ้น เรื่องเหล่านี้จะต้องดำเนินการ เพราะเรื่องจริยธรรมเป็น มาตรฐานขั้นสูงกว่าทั่ว ๆ ไป แต่ว่าเราหน้าแตก เอาจริยธรรมของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งฝรั่งเห็นก็หัวเราะ เอา เพราะจริยธรรมไม่ได้อยู่ที่ตัวหนังสือ ไม่ได้อยู่ที่ข้อบังคับจริยธรรมวิชาชีพ แต่มันอยู่ที่ พวกเราทำงาน ในขณะทำงานต้องสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังทำงานในฐานะของการ เป็นสื่อ กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของคนอื่นหรือเปล่า เราก็ต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับ “เอาหัวอกเขา มาใส่หัวอกเรา” แล้วเราก็จะทำหน้าที่ของสื่อได้โดยไม่ผิด จรรยาบรรณ ทุกครั้งที่เรากระทำ เราจะนึกถึงคำว่าจริยธรรมคำนี้เสมอ